คริสตจักร
THE CHURCH
"แต่เมื่อครบกำหนดแล้ว
พระเจ้าจึงทรงใช้พระบุตรของพระองค์มาให้ประสูติแต่สตรีและบังเกิดใต้พระบัญญัติ
เพื่อจะทรงไถ่คนเหล่านั้นซึ่งอยู่ใต้พระบัญญัติ
เพื่อเราจะได้กลับคืนเข้าตำแหน่งเป็นบุตร" (ฆะลาเตีย 4:4-5)
พระเยซูคริสต์ได้เสด็จเข้ามาในโลกได้นำ "ข่าวประเสริฐ"
เกี่ยวกับคำสัญญาไมตรีสุดท้ายที่พระเจ้าได้ทำไว้กับมนุษย์
เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของพระเยซูเริ่มต้นตั้งแต่
การประสูติของพระเยซูสิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์,
การถูกฝังไว้และการเสด็จฟื้นคืนพระชนม์
เป็นสิ่งท้าทายต่อมนุษย์อย่างมากและก่อให้เกิดความขัดแย้งกับคนในศตวรรษแรก
และในศตวรรษที่ยี่สิบจนแม้กระทั่งในปัจจุบัน
พระเยซูใช้เวลาในการสั่งสอนให้คนเป็นสาวกเป็นเวลาสามปีครึ่ง
เมื่อถึงเวลาที่พระองค์เห็นว่าพวกสาวกเหล่านี้พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจในการประกาศได้แล้ว
แต่เมื่อทำการสั่งสอนพบว่าภารกิจของพระองค์ไม่ได้สร้างความสงบสุขในบริเวณชายเขาที่ใกล้เคียง
พระองค์ไม่มีจุดประสงค์ที่จะทำให้สาวกเหล่านี้ "เป็นมนุษย์บริสุทธิ์วิเศษ"
ที่แยกตัวออกไปต่างหากปฏิบัติตนเป็นเหมือนผู้วิเศษที่นั่งภาวนาไปวันหนึ่งโดยไม่ได้ทำอะไร
พระองค์ได้เรียกสาวกเหล่านี้มาเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเหมือนกับทหารกล้าพร้อมที่จะทำสงครามฝ่ายวิญญาณจิตต์
ต่อต้านกองทัพที่ชั่วร้าย (เอเฟโซ 6:10-17) พระเยซูเรียกให้ออกปฏิบัติการ,
เอาชนะตัวเอง รักความจริงโดยไม่มีการออมชอม มีความร้อนรนประกอบกับความรู้
ถ้อยคำของพระองค์แก่ผู้ที่ติดตามพระองค์ คือ
"พระองค์จึงเรียกร้องประชาชนกับเหล่าสาวกให้เข้ามา
แล้วตรัสแก่เขาว่า
ถ้าผู้ใดจะใคร่ตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเองและรับกางเขนของตนแบกตามเรามา"
(มาระโก 8:34) มีคนเป็นอันมากได้ปฏิบัติตาม
หลังจากที่พระเยซูกลับไปสวรรค์แล้ว
การสั่งสอนยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
พระองค์ได้ฝึกอบรมอัครสาวกและสานุศิษย์เพื่อให้ทำภารกิจที่พระองค์ได้เริ่มไว้อย่างต่อเนื่อง
พวกเขาได้ถูกส่งออกไปประกาศพระกิตติคุณทั่วโลก
ด้วยคำเทศนาและสั่งสอนด้วยใจกล้าหาญ (มัดธาย 28:18-20)
พวกเขาได้ทำการเป็นประจำทุกวันทำให้มีสาวกเพิ่มขึ้น
บรรดาสาวกที่เพิ่มขึ้นได้ถูกสั่งสอนพระคำของพระเจ้าขั้นพื้นฐานแล้วก็ส่งพวกเขาออกไปสั่งสอนผู้อื่นต่อไป
ผลที่สาวกได้ออกไปสั่งสอน น่าอัศจรรย์เพียงแค่วันเดียวมีสาวกเพิ่มถึง 3,000
คนที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของคริสตจักรเริ่มแรกจากการที่พวกเขาได้ยินอัครสาวกเปโตรสั่งสอน
(กิจการ 2:41)
แท้ที่จริงการเทศนาเรื่องของพระเยซูประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้พวกศัตรูพยายามที่จะยับยั้งการเจริญเติบโตของคริสเตียนด้วยการห้ามไม่ให้มีการประกาศในที่สาธารณะ
(กิจการ 4:18, 5:28) แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งได้ ประมาณ 2,000
ปีต่อมาหลังจากนั้นเรื่องราวแห่งไม้กางเขนของพระเยซูยังคงมีชีวิตและมีพลานุภาพรุดหน้าต่อไปโดยไม่หยุด
ยิ่งไปกว่านั้นคริสเตียนไม่มีทางเลือก
คริสเตียนจะต้องแบ่งปันความเชื่อให้กับผู้อื่น
เพราะคุณค่าแห่งความรอดพ้นจากบาปโดยพระกรุณาคุณของพระเจ้านั้นมีมากมายเหลือล้นโดยการเสียสละของพระเยซูคริสต์เจ้าพระบุตรของพระเจ้า
เป็นข่าวประเสริฐที่มนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสได้รับฟัง เป็นข่าวประเสริฐที่คริสเตียนได้รับคำตรัสสั่งให้ออกไปประกาศ
(มัดธาย 28:18-20, ยะเอศเคล 33:7-9)
คริสตจักรของพระคริสต์ประกอบด้วยผู้เชื่อที่รอดแล้วเป็นกายของพระองค์
CHRIST'S CHURCH IS
HIS UNIQUE BODY OF SAVED BELIEVERS
ครั้งหนึ่งพระเยซูได้ถามพวกอัครสาวกว่าประชาชนเขาคิดว่าพระองค์เป็นผู้ใด?
"คนทั้งหลายย่อมพูดว่าบุตรมนุษย์เป็นผู้ใด" (มัดธาย 16:13) พวกอัครสาวกทูลตอบว่า
"ลางคนว่าเป็นโยฮันบัพติศโต ลางคนว่าเป็นเอลียานอกนั้นว่าเป็นยิระมะยาหรือเป็นคนหนึ่งแต่ในพวกศาสดาพยากรณ์"
(มัดธาย 16:14) และพระองค์ได้ถามอัครสาวกอีกคำถามหนึ่งว่า
"ฝ่ายพวกท่านนี้ว่าเราเป็นผู้ใดเล่า?" (มัดธาย 16:15) ซีโมนเปโตรตอบทันทีว่า
"พระองค์เป็นพระคริสต์บุตรของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่" (มัดธาย 16:16)
พระเยซูตรัสแก่เปโตรว่า "ซีโมนบุตรโยนาเอ๋ย ท่านก็เป็นสุข
เพราะว่าเนื้อและโลหิตมิได้แจ้งความนี้แก่ท่าน
แต่พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ทรงแจ้งให้ทราบ ฝ่ายเราว่าแก่ท่านว่า ท่านคือเปโตรบนศิลานี้เราจะตั้งคริสตจักรของเราไว้
และประตูแห่งความตายจะมีชัยชนะต่อคริสตจักรนั้นหามิได้" (มัดธาย 16:17-18)
พระเยซูได้เสด็จมาในเวลา "เมื่อครบกำหนดแล้ว"
เพื่อนำสิ่งเดียวที่มนุษย์ในโลกต้องการนับตั้งแต่คายินซึ่งเป็นฆาตกรคนแรกถึงคนเหล่านั้นที่จับพระเยซูไปตรึงไว้บนไม้กางเขน
มนุษย์ต้องการความรอดจากพระเจ้าอย่างยิ่ง
อันที่จริงตลอดทั้งประวัติศาสตร์ของประเทศยิศราเอล
พระเจ้าได้ให้คำสัญญาและได้พยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการตั้งอาณาจักรและกษัตริย์
คำสัญญานั้นก็คือโดยพงศ์พันธุ์ (เอกพจน์) ของดาวิด พระเจ้าจะทรงตั้ง "แผ่นดิน" และ
"โบสถ์วิหาร" ของพระองค์ขึ้น (2ซามูเอล 7:11-17)
คำสัญญานี้ซึ่งสำเร็จแล้วเมื่อคริสตจักรได้เริ่มต้นในกิจการ 2:29-34
เมื่อพระเยซูได้บอกกับเปโตรว่าพระองค์จะสร้างคริสตจักรของพระองค์ไว้บน
"ศิลา"
พระองค์ได้ทำตามเหมือนที่ศาสดาพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมได้บอกล่วงหน้าไว้หลายร้อยปีก่อน
ยะซายาได้พยากรณ์ไว้ดังนี้ว่า "เพราะเหตุนี้พระยะโอวาเจ้าจึงตรัสว่า นี่แน่ะในเมืองซีโอนนั้นเราได้วางรากแล้วโดยศิลาก้อนหนึ่งสำหรับเป็นหัวมุมอันเป็นรากฐานอันมั่นคง"
(ยะซายา 28:16) ในพระคัมภีร์ใหม่อัครสาวกเปโตรได้กล่าวถึงศิลานี้ซึ่งจะเป็นรากฐานเมื่อท่านกล่าวถึง
"ท่านกำลังมาหาพระองค์นั้นเหมือนมาถึงศิลาอันมีชีวิตอยู่
ศิลานั้นมนุษย์ปฏิเสธไม่รับไว้แล้วก็จริง
แต่ว่าพระดำริของพระเจ้าเป็นที่ทรงเลือกไว้และเป็นศิลาเลิศ" (1เปโตร 2:4, 7)
ที่จริงพระเยซูได้กล่าวถึงศิลาที่ถูกปฏิเสธ ซึ่งมาจากข้อความในพระคัมภีร์เดิม
ในมัดธาย 21:42, มาระโก 12:10 และลูกา 20:17 พระองค์ได้กล่าวว่า
"ศิลาที่ช่างก่อได้ทิ้งเสียกลับมาเป็นศิลาหัวมุมแล้ว" (บทเพลงสรรเสริญ
118:22) พระองค์ได้ยกพระคัมภีร์ข้อนี้เพื่อชี้ให้เห็นผู้นำของพวกยิวที่ได้ปฏิเสธพระองค์
พระเยซูได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า จะมีแต่คริสตจักรเดียวและคริสตจักรเดียวเท่านั้น
เปาโลได้เขียนว่าพระเยซูคริสต์ "ทรงเป็นศีรษะแห่ง พระกาย คือ คริสตจักร" (โกโลซาย
1:18) ในเอเฟโซ 1:22 เปาโลกล่าวถึงพระเยซูว่า
"พระเจ้าได้ทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นประมุขเหนือสิ่งสารพัตรแห่ง คริสตจักร"
ดังนั้นเปาโลชี้ให้เห็นชัดว่าพระกายเดียวคือ คริสตจักร สามบทต่อมาในเอเฟโซ 4:4
เปาโลกล่าวว่า "มีกายเดียว" ประโยคนี้มีความหมายดังต่อไปนี้
มีกายเดียว (เอเฟโซ
4:4)
พระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของกาย (เอเฟโซ 5:23)
ดังนั้น
พระเยซูเป็นผู้ช่วยให้รอดของ กายเดียว
และ
พระเยซูเป็นผู้ช่วยให้รอดของกายเดียว คือ คริสตจักร (เอเฟโซ 1:22-23, โกโลซาย 1:18,
24)
ดังนั้นพระเยซูเป็นผู้ช่วยให้รอดของ คริสตจักรเดียว พระกาย
คือคริสตจักรของพระคริสต์ เป็นที่รู้จักว่าเป็น
"คริสตจักรขององค์พระผู้เป็นเจ้า" (กิจการ 20:28) "คริสตจักรของพระเจ้า" (1โกรินโธ
1:2, ฆะลาเตีย 1:13) "ครอบครัวของพระเจ้า หรือ โบสถ์ของพระเจ้า" (1ติโมเธียว 3:15)
"ครอบครัวของความเชื่อ" (ฆะลาเตีย 6:10) และ "แผ่นดินของพระเจ้า" (กิจการ 28:23, 31)
พลไพร่ของพระเจ้าใช้นามของพระเยซูคริสต์ (กิจการ 11:26, 26:28, 1เปโตร 4:16)
คริสตจักรเป็นเหมือนเจ้าสาวของพระคริสต์ (วิวรณ์ 21:2)
และเป็นอาณาจักรของพระองค์ (วิวรณ์ 1:9)
ผู้เหล่านั้นที่อยู่ในคริสตจักรของพระคริสต์อันเดียวเท่านั้นจะประสบชัยชนะซาตานและความตายตลอดนิรันดร์
(1โกรินโธ 15:26, 54-56, 2ติโมเธียว 1:9-10)
น่าเสียดายในประวัติศาสตร์เราพบว่ามนุษย์พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการของพระเจ้าและได้เพิ่มเติมสิ่งที่ตนเชื่อเสริมเข้าไปจึงทำให้เกิดนิกายต่าง
ๆ ขึ้นมากมาย นิกายต่าง ๆ
ที่พบเห็นในโลกไม่สามารถอ่านพบได้ในพระคัมภีร์ เพราะฉะนั้นนิกายต่าง ๆ
เหล่านี้พระเจ้าจึงไม่ยอมรับ นิกายมีความหมายว่า
"ชนิดหรือกลุ่มที่มีชื่อโดยเฉพาะ หรือมีคำต่างกัน" เราเรียกธนบัตรชนิดต่าง ๆ
ธนบัตรใบละ1,000, ใบละ500, ใบละ100, ใบละ50 ฯลฯ ธนบัตรเหล่านี้มีค่าต่างกัน
พวกนิกายต่าง ๆ
มองข้ามลักษณะเด่นของคริสตจักรแท้ไปเสีย ดังนั้นพวกนิกายต่าง ๆ
จึงได้ให้กำเนิดคำสอนและบทบัญญัติที่ขัดต่อคำสอนของพระคัมภีร์และขัดคำสอนซึ่งกันและกันเอง
นอกจากนั้นนิกายต่าง ๆ
เหล่านี้ยังมองข้ามความสัมพันธ์ของคริสตจักรและพระเยซูว่ามีความเกี่ยวข้องกัน
ความสัมพันธ์นี้ได้บรรยายไว้อย่างสละสลวยในเอเฟโซ 5 ซึ่งอัครสาวกเปาโลได้เขียนไปถึงคริสตจักรยุคแรกว่า
"เพราะว่าสามีนั้นเป็นศีรษะของภรรยา เหมือนพระคริสต์เป็นศีรษะของคริสตจักร
โดยที่พระองค์เป็นผู้ทรงช่วย (คริสตจักร) คือ ร่างกาย (ของพระองค์) ให้รอด" (เอเฟโซ
5:23)
นิกายต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นมากมายเป็นสถาบันที่มนุษย์ได้ตั้งขึ้นซึ่งพระคัมภีร์และพระเจ้าไม่ยอมรับ
ความจริงง่าย ๆ คือว่า แม้มาร์ติน ลูเธอร์เป็นนักปฏิรูปที่สำคัญ แต่มาร์ติน
ลูเธอร์ ไม่ได้ยอมสละชีวิตของเขาบนไม้กางเขนเพื่อตั้งคริสตจักร
เพราะฉะนั้นจะเป็นสมาชิกของนิกายทำไม ในเมื่อใช้ชื่อคริสตจักรตามชื่อมาร์ติน
ลูเธอร์ไม่ใช่ชื่อพระเยซูคริสต์ ใครตายเพื่อตั้งคริสตจักร?
คณะผู้ปกครองคริสตจักรยุคแรก (หมายถึงบรรดาผู้ปกครอง, เจ้าอธิการ, ผู้ดูแล)
ไม่ได้ยอมสละชีวิตของเขาบนไม้กางเขนเพื่อตั้งคริสตจักร
ในเมื่อพวกเขาไม่ได้ตายบนไม้กางเขน เราจะเป็นสมาชิกของนิกายทำไม?
ถ้าเช่นนั้นเราจะเป็นสมาชิกของนิกายต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อตามผู้ก่อตั้งทำไม?
แทนที่จะใช้ชื่อเรียกตามคริสตจักรของพระบุตรของพระเจ้า
ทำไมเป็นสมาชิกของคริสตจักรที่ตั้งขึ้นโดย จอห์น เวสเลย์
ท่านผู้นี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าเขาเน้น "วิธี" (methods)
ในการนมัสการพระเจ้า นิกายนี้จึงกำเนิดขึ้นเรียกตัวเองว่า คณะเมธอดิสต์
ทำไมเป็นสมาชิกของนิกายที่เรียกชื่อตามคนที่ใช้ชื่อว่า "แบพติสต์"
คนกลุ่มนี้ยอมรับว่าการรับบัพติศมาที่ถูกต้องตามพระคัมภีร์คือการจุ่มมิดน้ำหรือ?
แม้ว่าพระคัมภีร์ได้บอกล่วงหน้าเกี่ยวกับการตั้งคริสตจักรและได้บันทึกชัดเจน
เมื่อคริสตจักรของพระคริสต์ได้มาตั้งแล้ว
ถ้าเช่นนั้นจะมีประโยชน์อะไรที่จะเป็นสมาชิกของ "คริสตจักรตามแบบพระคัมภีร์"
เป็นไปได้ไหมที่คนจะเป็นสมาชิกคริสตจักรที่มนุษย์ได้ตั้งขึ้น
และในเวลาเดียวกันเป็นสมาชิกที่สัตย์ซื่อในคริสตจักรของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า?
เป็นการสมควรหรือไม่ที่คริสเตียนควรแสวงหาที่จะเป็นสมาชิกของคริสตจักรที่ให้เกียรติและยกย่องอำนาจของพระเยซูคริสต์
เป็นสมาชิกของคริสตจักรซึ่งพระเยซูสละพระโลหิตของพระองค์เอง
คริสตจักรเป็นเหมือนเจ้าสาวพระองค์เป็นเหมือนเจ้าบ่าว ในพระคัมภีร์คริสเตียนที่มาประชุมร่วมกันเรียกว่า
"คริสตจักรของพระคริสต์" (โรม 16:16)
ผู้ที่เป็นคริสเตียนตามแบบแผนของพระคัมภีร์ใหม่คือผู้เหล่านั้นที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้าเพื่อจะได้รับความรอดอย่างเคร่งครัด
จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้าอย่างตรงไปตรงมา
ในการปฏิบัติตามแบบของพระคัมภีร์ใหม่อย่างตรงไปตรงมานั้นเขาไม่ได้
"สมัครเข้าเป็นสมาชิกในนิกาย" ซึ่งมนุษย์เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น
ถ้าคริสตจักรเปรียบเหมือนกายและถ้ามีกายเดียว
เพราะฉะนั้นก็หมายความว่ามีคริสตจักรเดียว บางคนคิดว่าคริสตจักรนิกายไหนก็ได้
และก็อยากเป็นสมาชิกในนิกายใดก็ได้ โดยการ
"สมัครเข้าเป็นสมาชิกตามที่ตนเลือก" แต่พระเจ้าบอกว่ามี คริสตจักรเดียว
ยิ่งกว่านั้นเราไม่เป็นสมาชิกของคริสตจักร ด้วยวิธีการ "สมัครเข้าเป็นสมาชิก"
พระคัมภีร์สอนว่าเมื่อผู้ใดได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของพระคัมภีร์
พระเจ้าเป็นผู้ทำหน้าที่ในการ "เพิ่ม"
บุคคลคนนั้นเข้าไปสู่คริสตจักรเที่ยงแท้อันเดียว (กิจการ 2:47)
คริสตจักรนั้นเป็นคริสตจักรที่เรียกตามพระนามของพระบุตรของพระเจ้า
คริสตจักรของพระคริสต์ที่ประสบชัยชนะ
CHRIST'S TRIUMPHANT CHURCH
นับตั้งแต่ที่พระเยซูได้เริ่มต้นกระทำพระราชกิจจนถึงสิ้นสุด ขณะอยู่บนโลกนี้
พระเยซูได้เตือนพวกสาวกล่วงหน้าว่า พวกเขาจะเผชิญกับการถูกข่มเหงและการขัดแย้ง
พระเยซูได้เตือนพวกเขาว่า "อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะให้เกิดความสงบสุขที่แผ่นดินโลก
เรามิได้มาเพื่อจะให้เกิดความสงบสุข
แต่เพื่อจะใช้ดาบเพราะว่าเรามาเพื่อจะให้ลูกชายหมางใจกับบิดาของตน
และลูกสาวหมางใจกับมารดา และลูกสะใภ้หมางใจกับแม่ผัว
และผู้ที่อยู่ร่วมเรือนเดียวกันก็จะเป็นศัตรูต่อกัน" (มัดธาย 10:34-36)
พระเยซูต้องการให้พวกสาวกของพระองค์เข้าใจชัดว่าพวกเขาจะต้องเผชิญกับการทุกข์ยากลำบากต่าง
ๆ พระองค์ได้เตือนพวกสาวกอย่างสม่ำเสมอเรื่องนี้ (มัดธาย 10:16, 39, 16:24,
24:9, โยฮัน 15:18, 20, 16:1-2, 21:18-19)
พระเยซูปรารถนาที่จะให้มีสันติสุขซึ่งกันและกัน
จุดประสงค์ที่สำคัญของพระองค์ก็คือที่จะทำให้มนุษย์มีสันติสุขเป็นไมตรีกับพระเจ้า
เปาโลได้เขียนจดหมายไปถึงคริสเตียนที่โรมว่า
"ใครผู้ใดจะให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระคริสต์เล่า? จะเป็นการยากลำบาก,
หรือความทุกข์ในใจ, หรือการเคี่ยวเข็ญ, หรือการกันดารอาหาร, หรือการเปลือยกาย,
หรือการถูกโพยภัย, หรือการถูกคมดาบหรือ" "แต่ว่าในเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านั้น
เราทั้งหลายมีชัยชนะเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย" (โรม 8:35,
37-39)
พระเยซูบอกสาวกที่ติดตามพระองค์ว่า พวกเขาจะต้องได้รับความกดดันจากพวกศาสนาอื่น ๆ (มัดธาย
10:17) จะถูกข่มเหงจากรัฐบาลต่าง ๆ (มัดธาย 10:18)
หรือแม้กระทั่งจากพวกของเขาเอง (2เธซะโลนิเก 3:1-5) พระองค์ตรัสว่า
"คนทั้งปวงจะเกลียดชังท่านเพราะนามของเรา" (มัดธาย 10:22)
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าถ้อยคำของพระเยซูได้เกิดขึ้นจริงแก่บรรดาสิทธชนยุคแรก
โดยไม่ต้องสงสัยเลยว่าสิทธชนที่สัตย์ซื่อจนถึงวันตายจะประสบชัยชนะในที่สุด
(วิวรณ์ 2:10)
การที่คริสตจักรถูกข่มเหงทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นเพราะลักษณะและภารกิจของพระเยซู
"โลกจะชังท่านทั้งหลายไม่ได้ แต่ได้ชังเราเพราะเราเป็นพยานถึงการของโลกว่าเป็นการชั่ว" (โยฮัน 7:7)
คนในโลกเกลียดชังพระเยซูเพราะพระองค์ประณามความชั่วและประณามสิ่งที่คนในโลกรัก
คนในโลกเกลียดชังคริสตจักรเพราะคริสตจักรประณามคนในโลกว่าเป็นคนชั่ว
ด้วยการที่คริสตจักรใช้ชีวิตและความประพฤติค้านสายตาโลก พระเยซูวิงวอนว่า
"ถ้าโลกนี้ชังท่านทั้งหลาย ๆ ก็รู้ว่าเขาได้ชังเราก่อน" (โยฮัน 15:18)
การเกลียดชังมักตามมาด้วยการข่มเหง
คริสตจักรที่ยืนหยัดมั่นคงอยู่ในภารกิจที่แท้จริงจะ ต้องถูกคัดค้าน
มนุษย์จะนมัสการพระเจ้าอย่างไร? HOW HUMANITY SHOULD
WORSHIP GOD
ในความสัมพันธ์ของพระเจ้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์
พระเจ้าได้กล่าวไว้เสมอว่าพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สมควรได้รับการนมัสการ
ตอนที่พระองค์ได้ประทานพระบัญญัติ 10 ประการให้แก่ชนชาติยิศราเอล
พระองค์ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังนี้ว่า "ผู้ได้นำเจ้าออกจากประเทศอายฆุปโต
คือจากฐานะแห่งทาสนั้น อย่าได้มีพระเจ้าอื่นต่อหน้าเราเลย
อย่าทำรูปเคารพสำหรับตน เป็นสันฐานรูปสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งมีอยู่ในฟ้าอากาศเบื้องบนหรือซึ่งมีอยู่แผ่นดินเบื้องล่าง
หรือซึ่งมีอยู่ในน้ำใต้แผ่นดิน อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น
ด้วยเราคือยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าเป็นผู้หวงแหน
ให้โทษของบิดาที่ชังเรานั้นติดเนื่องจนถึงลูกหลานกระทั่งสามชั่วสี่ชั่วอายุคน" (เอ็กโซโด
20:2-5)
การที่มนุษย์ควรนมัสการพระเจ้านั้นยังไม่เป็นการเพียงพอ
ตลอดมาทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันพระเจ้าได้ตรัสสั่งไว้อย่างชัดเจนว่าพระองค์สมควรจะได้รับการนมัสการแต่ได้บอกถึงวิธีการที่จะนมัสการพระองค์โดยถูกต้องอย่างไร?
เมื่อเราอ่านหนังสือเยเนซิศเล่มแรก
เราจะพบว่าพระเจ้าได้ตรัสสั่งไว้ว่ามนุษย์ควรจะนมัสการพระองค์โดยถูกต้องอย่างไร?
ตั้งแต่ยุคแรกของประวัติศาสตร์มนุษย์โลก ผู้เขียนเฮ็บรายได้ยืนยันกฎเกณฑ์ในการนมัสการไว้ดังนี้
"โดยความเชื่อเฮเบลนั้นได้นำเครื่องบูชาอันประเสริฐกว่าเครื่องบูชาของคายินมาถวายแก่พระเจ้า
เพราะเหตุเครื่องบูชานั้นจึงมีพยานว่าเขาเป็นคนชอบธรรม
คือพระเจ้าทรงเป็นพยานแก่ของถวายของเขา โดยความเชื่อนั้นแม้ว่าเฮเบลตายแล้วเขาก็ยังพูดอยู่"
(เฮ็บราย 11:4)
พระคัมภีร์บอกไว้ชัดเจนว่า การนมัสการของเฮเบลพระเจ้ายอมรับ
ส่วนการนมัสการของคายินพระเจ้าไม่ยอมรับ ข้อสรุปเป็นที่แน่ชัดว่า เฮเบลได้นมัสการพระเจ้าตามที่พระองค์ได้ตรัสสั่งไว้แก่ครอบครัวแรกในโลกว่าควรนมัสการพระองค์โดยถูกต้องอย่างไร
ขณะเดียวกันคายินไม่ได้ปฏิบัติตามคำตรัสสั่งดังกล่าวนั้น แต่ได้มองข้ามไป
อีกตัวอย่างในพระคัมภีร์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าพระเจ้าได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าควรนมัสการพระองค์โดยถูกต้องอย่างไร
ในหนังสือเลวีติโก
ซึ่งอยู่ในพระคัมภีร์เดิมได้บันทึกเรื่องราวของพี่น้องสองคนที่เป็นบุตรของอาโรน
มีชื่อว่า นาดาบเป็นบุตรชายคนโต และอะบีฮูเป็นบุตรชายคนที่สอง เลวีติโกบทที่10
ได้อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนทั้งสอง
เมื่อทั้งสองได้นมัสการพระเจ้าตามใจของตนเอง
แทนที่จะปฏิบัติตามคำตรัสสั่งของพระเจ้า "และนาดาบและอะบีฮูบุตรชายของอาโรนทั้งสองคนเอากะถางใส่ไฟ
แล้วใส่เครื่องหอมบูชาถวายต่อพระพักตร์พระยะโฮวา
ด้วยไฟอื่นที่พระองค์มิได้ตรัสสั่งให้ใช้
และมีไฟออกมาจากพระยะโฮวาเผาเอาสองคนนั้นให้ตายต่อพระพักตร์พระยะโฮวา" (เลวีติโก
10:1-2 กุญแจที่จะเข้าใจเรื่องนี้ก็คือว่าทั้งสองได้นำ "ไฟอื่น" ซึ่งพระเจ้า
"ไม่ได้สั่ง" บุตรชายของอาโรนทั้งสองถึงแก่ความตายอย่างน่าสยดสยองเพราะเขาทั้งสองไม่ยอมทำตามคำตรัสสั่งเฉพาะเจาะจงอันเกี่ยวข้องกับการที่มนุษย์ควรนมัสการพระองค์
โดยถูกต้องตามคำสั่งอย่างไร?
จากบันทึกเรื่องราวของคายินกับเฮเบลและนาดาบกับอะบีฮู
เราเรียนรู้บทเรียนอันสำคัญว่าพระเจ้าต้องการให้มนุษย์นมัสการพระองค์โดยถูกต้องตามคำสั่งอย่างไร
บทเรียนนั้นก็คือ พระเจ้าเรียกร้องให้คนมีความเข้าใจอันถูกต้อง,
มีท่าทีในจิตใจที่ถูกต้อง และเชื่อฟังด้วยความเคารพยำเกรง
พระคัมภีร์ใหม่ยกตัวอย่างที่สามารถมองเห็นได้ชัดในสามประเด็นดังกล่าวนี้ในมัดธาย
6:1-18 พระเยซูได้ประณามพวกฟาริซายที่นับถือศาสนาเป็นเหมือนการแสดงไม่ใช่จริงใจ
พระองค์ตรัสว่า "ท่านจงระวังให้ดี
อย่าทำความชอบธรรมของท่านต่อหน้ามนุษย์เพื่อหวังจะให้เขาเห็น
ถ้าทำอย่างนั้นท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จแต่พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์
เหตุฉะนั้นเมื่อทำทานอย่าเป่าแตรข้างหน้าท่านเหมือนคนหน้าซื่อใจคดกระทำในธรรมศาลาและตามถนนเพื่อจะได้ความสรรเสริญจากมนุษย์
เราบอกท่านตามจริงว่าเขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้ว" (มัดธาย 6:1-2) ในข้อ 5
"เมื่อท่านทั้งหลายจะอธิษฐาน อย่าเป็นเหมือนคนหน้าซื่อใจคด
เพราะเขาชอบยืนอธิษฐานในธรรมศาลาและตามถนน เพื่อจะให้คนทั้งปวงเห็น
เราบอกท่านตามจริงว่าเขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้ว" ข้อ 16
"เมื่อท่านถือศีลอดอาหาร อย่าทำหน้าเศร้าหมองเหมือนคนหน้าซื่อใจคด
ด้วยเขาทำหน้าให้มอมแมมเพื่อจะให้ปรากฏแก่มนุษย์ว่าเขาถือศีลอดอาหาร
เราบอกท่านตามจริงว่า เขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้ว"
บำเหน็จของเขาก็คือมนุษย์มองเห็นได้
พิจารณาดูพวกฟาริซายที่พระเยซูได้ยกพวกเขาเป็นตัวอย่าง
แบบที่ไม่ควรเอาตัวอย่างในการนมัสการพระเจ้า พวกเขาแจกทาน, อธิษฐานและอดอาหาร
ถ้าเขาทำในสภาพที่มีจิตใจปกติ การกระทำของเขาพระเจ้ายอมรับ
แต่สิ่งที่พวกฟาริซายได้กระทำออกมาภายนอก พวกเขาทำด้วยเหตุผลที่ผิด คือเขาทำเพื่อ
"ต้องการให้คนเห็น" ถึงแม้ว่าการกระทำภายนอกของถูกต้อง แต่ จุดประสงค์ และ
ท่าทีในใจ ของพวกฟาริซายผิด เพราะฉะนั้น พระเจ้าจึงไม่ยอมรับการนมัสการของพวกเขา
อีกประเด็นหนึ่งซึ่งควรนำมาพิจารณาด้วย การที่คนมี ความจริงใจ
แต่เพียงอย่างเดียวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเพียงพอในการนมัสการที่พระเจ้ายอมรับ
ใน 2ซามูเอลบทที่ 6 มีบันทึกเรื่องของอุซา
เป็นผู้ที่ดูแลหีบคำสัญญาไมตรีของพระเจ้า
ซึ่งกำลังเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หีบคำสัญญาไมตรี
(ละเมิดคำสั่งของพระเจ้า) บรรทุกไว้บนเกวียนเล่มใหม่
พระคัมภีร์ได้กล่าวว่า "โคได้ทำหีบนั้นให้สะเทือน" (2ซามูเอล 6:6)
อุซาเกรงว่าหีบคำสัญญาไมตรีที่บรรทุกบนเกวียนเล่มนั้นอาจจะถูกทำลายหรือเสียหาย
อุซาจึงเอื้อมมือจับไว้เพื่อไม่ให้สะเทือน (6:6)
แต่พระเจ้าได้มีบัญญัติกำหนดไว้ว่า
ผู้ที่จะสามารถสัมผัสหีบคำสัญญาไมตรีได้ต้องเป็นผู้ที่พระเจ้ากำหนดไว้
แต่อุซาไม่ใช่เป็นคนในกลุ่มนั้น (อาฤธโม 4:15)
เพราะฉะนั้นทันทีที่อุซาสัมผัสหีบคำสัญญาไมตรี
พระเจ้าได้สังหารให้อุซาถึงแก่ชีวิต (2ซามูเอล 6:7)
อุซามีความจริงใจในการกระทำของเขาหรือเปล่า? คำตอบคือ ใช่
แต่ความจริงใจของอุซาไม่มีความหมายอะไรเลยเพราะเขาละเมิดคำสั่งของพระเจ้า
โปรดสังเกตว่าพระคัมภีร์บันทึกว่า "พระเจ้าสังหารเสียที่นั่นเพราะการผิดนั้น"
(2ซามูเอล 6:7) พระเจ้าไม่ต้องการเพียงแค่ความจริงใจเท่านั้น
พระองค์ต้องการความเชื่อฟัง พระเยซูพระองค์เองได้ตรัสว่า
"ถ้าท่านทั้งหลายรักเราท่านก็จะประพฤติตามบัญญัติของเรา" (โยฮัน 14:15)
ยิ่งกว่านั้นหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นหนทางแคบ
ดังที่พระเยซูตรัสไว้ในคำเทศนาบนภูเขา (อ่านเฉพาะ มัดธาย 7:13-14)
แท้ที่จริงพระเยซูตรัสว่า "มิใช่ทุกคนที่เรียกเราว่าพระองค์เจ้าข้า
พระองค์เจ้าข้า จะได้เข้าในเมืองสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์นั้นจึงจะเข้าได้"
(มัดธาย 7:21)
สรุป
ตลอดทุกยุคทุกสมัย
มนุษย์ได้ต่อสู้เพื่อจะได้หลุดพ้นจากความบาป
พระเยซูได้เสด็จมาในโลกและได้ตั้งอาณาจักรฝ่ายวิญญาณจิตต์ขึ้นอันเดียวเท่านั้นที่จะช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากบาปได้
และในอาณาจักรนี้ความตายไม่อาจทำลายได้
พระเยซูทรงเต็มไปด้วยความรักซึ่งประสงค์ให้ทุกคนตัดสินใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรของพระองค์
เราจะต้องเรียนรู้จักปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้า ตรงไปตรงมา
และตรงไปตรงมาตามวิธีที่พระองค์ได้ตรัสสั่งไว้เท่านั้น
ไม่มีอะไรมาทดแทนการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้าไปได้ ความจริงใจ
หรือความปรารถนาดีก็ยังไม่เพียงพอ
ผู้เหล่านั้นที่เชื่อฟังพระเจ้าเพราะมีความเข้าใจ มีท่าทีในใจอันถูกต้อง
และมีดวงวิญญาณด้วยความถ่อมสุภาพจะเป็นที่ยอมรับของพระเจ้า
พระเยซูรักมนุษย์ทุกคน
แต่พระองค์จะช่วยคนเหล่านั้นที่เชื่อฟังตามพระคำของพระเจ้าเท่านั้นให้รอดพ้นจากบาป
และพระเจ้าจะทรงเพิ่มผู้เหล่านั้นที่รอดแล้วเข้าสู่คริสตจักรซึ่งพระเยซูได้ทรงซื้อด้วยพระโลหิตของพระองค์
ตอบคำถาม คลิกที่นี่ https://docs.google.com/forms/d/1e_-J2ONud_DKz1DGcQNOTYxXaeNhAZ4eb1DYw0vfclM/viewform