บทที่4

มีพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์ - ศีลธรรม  THE EXISTENCE OF GOD - MORALITY
    เป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันว่าการกระทำทุกอย่างย่อมมีผลกระทบและข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าความเชื่อต้องมีการปฏิบัติ สิ่งที่คนเชื่ออย่างไรจะเป็นพลังผลักดันเบื้องหลังการกระทำของคน  ทุกคนในโลกนี้เชื่อว่ามีบางสิ่งถูกและมีบางสิ่งผิด  เพราะฉะนั้นทุก ๆ คนมีหลักเกณฑ์ของศีลธรรมและจรรยาบรรณ

ศีลธรรมและจรรยาบรรณ  MORALITY AND ETHICS
    ก่อนที่เราจะเริ่มศึกษา ความสำคัญของต้นกำเนิดของศีลธรรม และจรรยาบรรณจำเป็นต้องให้คำจำกัดความของคำที่ใช้ "ศีลธรรม" คือนิสัยที่ปฏิบัติตามกฎซึ่งควบคุมความประพฤติที่เหมาะสม  "จรรยาบรรณ" คือวินัยที่ควบคุมเกี่ยวกับสิ่งที่ดี และสิ่งไม่ดี หรืออะไรถูกอะไรผิด เป็นหลักศีลธรรมหรือหลักอันทรงคุณค่า เพราะฉะนั้นจรรยาบรรณ ก็คือ กฎเกณฑ์ที่บุคคลใช้ในการตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด  ศีลธรรมและจรรยาบรรณเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ควรหรือไม่ควร หน้าที่ และคุณธรรม (หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เราควรประพฤติอย่างไร)  คำถามที่อยู่ตรงหน้าของเราเดี๋ยวนี้ก็คือเราควรประพฤติอย่างไร?
    ถ้าหลักเกณฑ์ที่ว่า "อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด" เกิดขึ้น เราจะตัดสินได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ถูกหรือผิด  "บางครั้งคนไม่เห็นตรงกันในการตัดสินบางอย่างว่าถูกหรือผิด  แต่อย่างไรก็ตามทุก ๆ คนมีความเห็นพ้องต้องกันว่า มีบางสิ่งถูกและมีบางสิ่งผิดศีลธรรมและจรรยาบรรณ เป็นกฎเกณฑ์ที่ยอมรับกันทุกครอบครัวในโลก เพราะฉะนั้นต้นกำเนิดที่มาของศีลธรรมและจรรยาบรรณจะต้องมีคำอธิบาย  เรามีทางเลือกอยู่สองทางคือศีลธรรมและจรรยาบรรณมีต้นกำเนิดมาจากปัญญาของพระเจ้าซึ่งพระองค์ทรงประกอบด้วยความดีทั้งหมด หรือไม่ก็เกิดขึ้นมาจากภายในตัวมนุษย์นั่นเอง
    แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ มีหลายสิ่งที่เราจะต้องเลือกทำหรือไม่ทำ  มีมากมายและซับซ้อนมากขึ้น เช่น เราเห็นว่าการทำแท้งดีไหม?  เราควรส่งเสริมให้ผู้หญิงหลายคนทำหน้าที่เป็นแม่แทนแม่จริง ๆ หรือ?  เราจะสนับสนุนการลงโทษด้วยการประหาร  หรือเราควรสนับสนุนฉีดยาให้คนตายด้วยความปรานี   หรือเราควรสนับสนุนการแต่งงานของเพศเดียวกันหรือ?  เราจะไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้และคำถามอื่นได้อย่างถูกต้องและมีความหมายด้วยการใช้อารมณ์  หรือความรู้สึกส่วนตัวของเราเป็นเครื่องตัดสินเพียงเท่านั้น  ยิ่งกว่านั้นเราไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ด้วยการหาคำตอบจากอดีตเพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญอยู่ไม่ใช่เป็นปัญหาของคนเหล่านั้นที่ได้เผชิญในอดีต เราจะตั้งกฎเกณฑ์ให้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันได้อย่างไร?
    คนที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้ามีทางเลือกเดียวในการอธิบายเรื่องศีลธรรมคือศีลธรรมจะต้องเกิดมาจากภายในตัวมนุษย์ อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า  พวกเหล่านี้มองว่ามนุษย์เกิดจากความบังเอิญ  ด้วยการวิวัฒนาการเป็นเวลาอันยาวนาน ถ้าเป็นอย่างนี้จะมีคำถามเกิดขึ้นว่า สิงโตที่ฆ่ากวางเป็นอาหารของมัน ทำไมมันจึงไม่มีความรู้สึกว่ามันได้ทำผิดศีลธรรมอะไร สุนัขไม่รู้สึกผิดอะไรที่ไปขโมยกระดูกมาจากสุนัขตัวอื่น แต่มนุษย์ที่เกิดมาด้วยกระบวนการของการวิวัฒนาการกลับมีความรู้สึกผิดและไม่สบายใจ เมื่อทำสิ่งที่ไม่น่าทำเป็นการละเมิดมาตรฐานศีลธรรมและจรรยาบรรณ
    จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าโลกของเรายึดตามกฎของวิวัฒนาการ  โดยไม่เชื่อพระเจ้าแน่นอนโลกของเราจะเป็นสถานที่วุ่นวายไม่น่าอยู่อย่างยิ่ง  ดร.ริชาร์ด ดอว์กิ้นส์ ชาวอังกฤษ  ผู้มีชื่อเสียงซึ่งยึดถือหลักการวิวัฒนาการท่านผู้นี้ยอมรับว่า ถ้ายึดหลักการวิวัฒนาการและปฏิบัติตามให้สัมพันธ์กับสิ่งที่เชื่อ  ความเชื่อนั้นจะยังผลให้เกิด "สังคมที่สกปรกที่เรามีชีวิตอยู่"  มันจะเป็นอย่างนั้นจริง ๆ  ดร.เดสมอนด์ มอร์ริส เขียนหนังสือชื่อ เปลือยมนุษย์วานร (The Naked Ape)  เกี่ยวกับการวิวัฒนาการของมนุษย์ ชื่อของหนังสือเล่มนั้นเตือนให้เกิดคำถามที่น่าสนใจขึ้นว่า เพราะว่าไม่มีสัตว์ชนิดใดในประวัติของวิวัฒนาการของสัตว์ไม่ปรากฏว่าสัตว์มีมาตรฐานศีลธรรมอะไร ถ้าเช่นนั้นเราจะไว้ใจมนุษย์เป็นเหมือนมนุษย์วานรจะทำดีกว่าสัตว์หรือ?  สสารในตัวมันเองไม่สามารถ "ผลิต"  แม้กระทั่งความรู้สึกสัมผัสเกี่ยวกับศีลธรรม ถ้าไม่มีจุดประสงค์ในจักรวาล (ซึ่งเป็นสถานะที่พวกที่เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการถูกบีบให้ต้องยอมรับ)  ถ้าเช่นนั้นก็หมายความว่าไม่มีจุดประสงค์ของศีลธรรมและจรรยาบรรณ
    ผู้ไม่เชื่อพระเจ้าจะต้องโต้แย้งว่า ไม่มีมาตรฐานที่เป็นความจริงขั้นสูงสุดของศีลธรรมและจรรยาบรรณ  และอย่างดีที่สุดแต่ละคนมีมาตรฐานศีลธรรมและจรรยาบรรณแตกต่างกัน ถ้านั่นเป็นความจริงใครจะเป็นผู้ตัดสินได้ว่าความประพฤติของผู้อื่น "ผิด" หรือบุคคลคนนั้น "ควร" หรือ "ไม่ควร" ทำสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้?  ความจริงก็คือพวกที่ไม่เชื่อ ไม่สามารถอธิบายต้นกำเนิดที่มาของศีลธรรมและจรรยาบรรณ ไม่ว่าพวกที่ไม่เชื่อพระเจ้าจะยอมรับหรือไม่ก็ตามถ้าไม่มีพระเจ้า ถ้าเช่นนั้นมนุษย์จะใช้ชีวิต "อย่างไรก็ได้" ในสิ่งแวดล้อม เมื่อนักประพันธ์เรืองนามชื่อ ฟายโอดอร์ โดสโตเยฟสกี้ ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Brothers Karamazov ในเนื้อเรื่องมีตัวละครคนหนึ่งมีชื่อว่า Ivan กล่าวขึ้นว่า "ถ้าไม่มีพระเจ้าใครจะทำอะไรก็ได้"  จริงมากกว่าจริงถ้าทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นความจริงและถ้าไม่มีพระเจ้าคนจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ  เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะตั้งกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานศีลธรรมและจรรยาบรรณขึ้นมา เพื่อทุกคนสามารถยอมรับร่วมกันว่า "อะไรถูก" หรือ "อะไรผิด"
    พวกที่เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการไม่สามารถหาข้อสรุป เรื่องศีลธรรมและจรรยาบรรณว่ามีต้นกำเนิดมาจากไหน มนุษย์จึงลอยอยู่ในกลางทะเลของความสิ้นหวัง  เขาจึงยึดหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการที่ว่า "ใครที่มีกำลังมากกว่าย่อมเป็นฝ่ายถูกซึ่งทำให้คนที่แข็งแรงกว่าเหยียบย่ำคนที่อ่อนแอกว่า"  และมนุษย์ทุกคนต่างคนต่างทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ  ถ้าในสายตาของเขาเห็นว่าถูกศีลธรรมและจรรยาบรรณที่ปราศจากพระเจ้าเป็นภาพที่ไม่สวยงาม ดังมีการวิเคราะห์ของกลุ่มไม่เชื่อพระองค์ดังต่อไปนี้
    Relativism (ลัทธิสัมพันธ์)  กล่าวว่าไม่มีกฎสากลในการตัดสินเรื่องศีลธรรมและจรรยาบรรณ  เพราะว่าระบบค่านิยมศีลธรรมของคนเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและขนมประเพณี ระบบค่านิยมอันหนึ่งอันใดก็ดีเท่ากับอันอื่น ๆ ไม่มีระบบค่านิยมอันใดมีสิทธิที่จะอ้างว่าระบบของเขา "ถูก" ที่ใช้ในการตัดสินการกระทำของเขาตามความคิดของ Relativism (ลัทธิสัมพันธ์)  ถ้าสังคมต้องการฆ่าเด็ก ๆ อายุ 8 ขวบหรืออายุน้อยกว่านี้เพื่อควบคุมอัตราการเกิดของพลเมือง ไม่มีใครสามารถทักท้วง (โดยมาตรฐานกฎหมาย) ว่านั่นเป็น "การผิด" อย่างไรก็ตามมนุษย์ทุกคนรู้ว่ามีบางสิ่งที่ถูกและมีบางสิ่งผิดเป็นการยาก (แทบเป็นไปไม่ได้เลย) ที่จะเห็นสังคมมนุษย์ใดในโลกสรรเสริญเยินยอผู้ที่ฆ่าลูกของผู้ที่เป็นมิตรสหายของตน  หรือชื่นชมคนที่ทรยศขายชาติของตนเอง เพราะเหตุนี้เอง มีคนน้อยนักที่จะป้องกัน Relativism ลัทธิสัมพันธ์
    Hedonism (ลัทธิความพอใจ)  เป็นปรัชญาที่มีเป้าว่าการปฏิบัติตามศีลธรรมก็เพื่อบรรลุความปรารถนาของตนโดยให้ได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด  ที่จริงมีผู้เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการมีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ อัลดุส ฮักซ์ลีย์ (Aldous Huxley) เขากล่าวว่าเขามีเหตุผลส่วนตัวในการสนับสนุนให้สังคมใช้คติว่า "การมีชีวิตอย่างไร้ความหมาย"  เป็นอุดมคติสูงสุด เขาต้องการให้โลกใช้ชีวิตโดยไม่มีความหมายเพราะเขารู้สึกว่า "ศีลธรรม" ยุ่มย่ามเสรีภาพเรื่องเซ็กซ์ของเขา  "ท่านไม่ต้องใช้ความคิดท่านก็สามารถเข้าใจจุดประสงค์ของเขาได้ Hedonism (ลัทธิความพอใจของตัวเอง) บอกว่าการกระทำใด ๆ ที่นำความสนุกและความใคร่มาให้ก็จงทำไปเลย ถ้าไม่เดือดร้อนก็เป็นที่ยอมรับได้ ดูผลกระทบที่เกิดขึ้นเพราะความคิดดังกล่าวจะเป็นอย่างไร  โรคที่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ระบาดทั่วโลก  วัยรุ่นตั้งครรภ์โดยไม่มีพ่อนับไม่ถ้วน  ทารกเป็นจำนวนมากเกิดมาติดเชื้อเอดส์ (AIDS) เพราะแม่ติดเชื้อเอดส์ขณะตั้งครรภ์ได้แพร่เชื้อไปยังลูกของตน  การหย่าร้างมีอัตราสูงขึ้น  ในเมืองมีการฆ่าข่มขืนและละเมิดทางเพศเยาวชนจะต้องให้ความเสื่อมโทรมของสังคมสาหัสมากกว่านี้สักแค่ไหนจึงสำนึกว่าคนที่ใช้ชีวิตโดยปฏิเสธพระเจ้าเป็นชีวิตที่จอมปลอมและสกปรก?
    Utilitarianism (ลัทธิผลประโยชน์คนส่วนใหญ่)  เป็นระบบความเชื่อที่แนะว่าสิ่ง "ดี" คือสิ่งที่ได้ตัดสินโดยจำนวนคนมาก ๆ เป็นความพอใจของเนื้อหนังจากคนมาก ๆ คำอธิบายที่แจ่มชัดจากผู้ที่เชื่ออุดมคตินี้  มาจากหนังสือเขียนขึ้นโดย มิสซิสแคเธอรีน เทท (Katherine Tait)  ลูกสาวคนเดียวของ เบอร์แธรนด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) ซึ่งเป็นผู้เชื่อปรัชญา "อวิชชา" ผู้มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ  มิสซิสเททได้บรรยายในหนังสือชื่อ "In My Fathes, Bertrand Russell"  ในหนังสือเธอได้บรรยายไว้ถึงสภาพในการที่เธอและน้องชายใช้ชีวิตอยู่ในบ้านของครอบครัวรัสเซลล์ ตัวอย่างเช่น บิดาของเธอเชื่อว่าพ่อแม่ควรสั่งสอนเด็ก "นับตั้งแต่ลมหายใจแรกว่าเขาได้เข้ามาสู่โลกแห่งศีลธรรม" แต่ในฐานะที่บิดาของเธอเชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการเหมือนพวกไม่เชื่อพระเจ้าคนอื่น ๆ บิดาของเธอมีปัญหาลำบากในการป้องกันสิ่งที่บิดาเชื่อ  มิสซิเททได้นำสิ่งที่เธอจำความได้สมัยที่เธอเป็นเด็กเขียนไว้ในหนังสือของเธอในฐานะที่เธอเป็นเด็กเธอจะพูดว่า "หนูไม่อยากทำ ทำไมหนูต้องทำด้วยละ?"  เมื่อบิดาของเธอบอกเธอว่า เธอ "ควรจะทำ" เธอวิเคราะห์ว่า ถ้าพ่อแม่ปกติเหมือนมนุษย์ทั่วไปก็จะตอบลูกว่า "เพราะว่าพ่อบอก" หรือ "เพราะพ่อของลูกสั่ง" หรือ "พระเจ้าสั่ง"  ต้องยอมรับว่า เบอร์แทรนด์ รัสเซลล์ ไม่ใช่เป็นพ่อที่ "ปกติ" เหมือนพ่อแม่ทั่วไป  มร.รัสเซลล์ จะพูดกับแคเธอรีนลูกสาวว่า เพราะคนส่วนมากจะมีความสุข ถ้าลูกทำตามที่พ่อบอกมากกว่า เธอตะโกนตอบ "แล้วไงล่ะ"  "หนูไม่แคร์คนอื่น ๆ"  บิดาของเธอจะตอบเธอว่า "แกควรจะแคร์"  ในความเป็นวัยรุ่น  แคเธอรีน ถามบิดาของเธอว่า "แต่พ่อคะทำไมละ?"  บิดาของเธอจะตอบว่า "เพราะคนส่วนมากจะมีความสุขมาก  ถ้าแกทำดีกว่าที่แกไม่ทำ"  ในที่สุด มิสซิสเททเขียนว่า "เรามีความรู้สึกจากความมุทะลุของพ่อ  แต่ในที่สุดเราก็ต้องเชื่อฟังพ่อ  แต่เหตุผลของพ่อไม่เป็นที่น่าประทับใจ และไม่ประทับใจพ่อด้วย" ถ้าเช่นนั้นจะเป็นที่ประทับใจมนุษย์ทั่วไปที่มีเหตุผลได้อย่างไร?
    Situationism (ลัทธิสภาวะแวดล้อม)  เป็นปรัชญาที่สอนว่ามีบางสิ่งที่ "ถูก" ขึ้นอยู่กับการตัดสินของใครคนหนึ่งในสภาวะหนึ่งสภาวะใด ถ้าเขาคิดว่า "ถูก" โดยปรัชญานี้ไม่มีอะไรที่ถูกหรือผิดเสมอไปจะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับสภาวะแต่ละครั้ง  ด้วยการตัดสินของบุคคลด้วยตัวเอง  ถ้าคนวิกลจริตตัดสินใจฆ่านักธุรกิจที่เป็นคู่แข่งโดยคิดว่าเป็นการกระทำที่ "ถูก" เขาจะตอบตำรวจได้อย่างไร? ในทางกลับกันมีบางสิ่งที่ ถูกเสมอไป และมีบางสิ่งที่ ผิดเสมอไป Situationism (ลัทธิสภาวะแวดล้อม) ไม่เป็นปรัชญาที่มีคุณค่าอะไร  เพราะว่าปรัชญาที่ไม่สามารถเป็นที่ยอมรับที่เด็ดขาดของมนุษย์ทั่วไปและไม่เป็นที่ยอมรับในทางกฎหมายยิ่งกว่านั้นจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อสองคนอยู่ร่วมกันในสภาวะที่คับขันเขาจะตัดสินอย่างไร ในเมื่อคนหนึ่งอยากทำอย่างหนึ่ง  แต่อีกคนหนึ่งอยากทำอีกอย่างหนึ่งที่ต่างกัน  ถ้าเช่นนั้นใคร "ถูก" โดยไม่มีระบบที่เด็ดขาด ใครเป็นผู้ตัดสิน?
    Determinism (ลัทธิตัดสินเอง)  เป็นปรัชญาที่สอนว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ปรัชญานี้อ้างว่ากระบวนการของทฤษฎีวิวัฒนาการอันยาวนานได้ปลูกสัญชาตญาณให้มนุษย์ตัดสินการกระทำของตน  ตามปรัชญานี้ก็หมายความว่า ถ้าใครจะคิดทำอะไรก็ได้ถ้าเขามีความรู้สึกอยากจะทำ เขาไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา ตัวอย่างเช่น ถ้าคนขโมยสิ่งของ ใครรับผิดชอบ?  Determinism (ลัทธิตัดสินเอง)  จะตอบว่า "กระบวนการของทฤษฎีวิวัฒนาการอันยาวนานรับผิดชอบ"  หรือตอบว่า "กรรมพันธุ์ทำให้เขาทำอย่างนี้"  แต่สามัญสำนึกบอกเราว่าทุกคนที่เป็นคนมีเหตุผลจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ถ้าเช่นนั้นเรามีกฎหมาย มีตำรวจ มีศาล และมีเรือนจำเอาไว้ทำไม?

ผลกระทบของศีลธรรมและจรรยาบรรณกับคนที่ไม่เชื่อพระเจ้า
THE PRACTICAL IMPACT OF MORALS AND ETHICS WITHOUT GOD

    คนมีความเชื่ออย่างไรมีผลต่อการกระทำของคนอย่างนั้น ความจริงนี้สามารถเห็นได้ง่ายจากผลกระทบของคนที่เชื่อศีลธรรมและจรรยาบรรณที่ผิด ๆ การที่มนุษย์เชื่ออย่างผิด ๆ มนุษย์จะต้องชดใช้ความเสียหายอย่างรุนแรง จากพฤติกรรมต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความเชื่อที่ผิด ๆ ตามลำดับขั้นของการวิวัฒนาการของสสาร, มนุษย์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับสัตว์  มนุษย์อาจจะมีความรู้มากกว่า มีสติปัญญามากกว่า  และมีแบบแผนมากกว่าพวกที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับอาณาจักรของสัตว์  ไม่ว่าจะพูดอย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ยังเป็นสัตว์อยู่นั่นเอง  เพราะฉะนั้นคำถามจึงเกิดขึ้นว่า ทำไมหนอมนุษย์จะต้องปฏิบัติต่อมนุษย์เองให้มีค่าสูงที่แตกต่างกว่าสัตว์ ในเมื่อมนุษย์ก็เป็นเหมือนสัตว์ไม่มีคุณค่าอะไร  ถ้าตามคำบอกของผู้ไม่เชื่อพระเจ้าแล้วก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่มนุษย์จะมีชีวิตดีกว่าสัตว์  ตั้งแต่เด็กทารกเกิดมาจนถึงหลุมฝังศพ ตามทัศนะของพวกที่เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการพวกเขามองชีวิตเหมือนกับ "ขยะ" ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่เราจะเห็น "คนอ่อนแอ" หรือ "คนที่ไม่มีใครต้องการ" กลายเป็นมนุษย์ที่ถูกทอดทิ้งหรือถูกทำลายเป็นเหมือนสัตว์  วันที่ 22 มกราคม 1973  ศาลสูงของสหรัฐได้ลงมติออกเสียง 7 ต่อ 2 ร่างกฎหมายมีใจความว่า ตัวอ่อนของทารกที่อยู่ในครรภ์ของมนุษย์ไม่ใช่เป็น "มนุษย์" แต่เรียกว่า "สิ่ง" ซึ่งอาจทำลาย หรือฆ่า หรือทิ้งตามกองขยะได้ บางคนสาธยายเสียยืดยาวเพื่อปกป้องสิ่งที่พวกเขาเชื่อผิด ๆ ตามความคิดของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) "คนที่อ่อนแอ" ไม่เหมาะที่จะอยู่ในสังคมและอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ  พวกเหล่านี้จะไม่สามารถอยู่รอด  ถ้าม้าแข่งที่มีราคาแพงเกิดสะดุดล้มขาหัก  สัตว์แพทย์ที่เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถรักษาม้าให้หายได้  เขาจะตัดสินด้วยการเอาปืนยิงม้าให้ตายไป  บังเอิญว่าม้าแข่งตัวนั้นไม่ใช่เป็นพ่อแม่หรือเป็นพี่น้องของใคร  นั่นแหละคือเหตุผลที่เขายิงม้าให้ตายเพราะธรรมชาติ "เลือกที่จะกำจัด" กับสัตว์ที่อ่อนแอกว่าและเพราะมนุษย์ถูกมองเหมือนสัตว์เมื่อเป็นเช่นนั้นมีเหตุผลอะไรที่จะต้องปฏิบัติต่อมนุษย์ให้ดีกว่าสัตว์ อะไรหนอจะอ่อนแอเท่ากับทารกตัวเล็ก ๆ ซึ่งเจริญเติบโตขึ้นในครรภ์?  ทารกไม่สามารถป้องกันตัวเอง ไม่สามารถช่วยตังเอง ไม่สามารถพูด ชีวิตของทารกที่อยู่ในครรภ์พึ่งอยู่กับชีวิตมารดาของตน  จะเกิดอะไรขึ้น สมมุติว่ามีมนุษย์อุบาทว์บางคน "ใช้ปืนระเบิดสมองทารก หรือฆ่าทารกด้วยการทำแท้ง"  เหมือนกับม้าแข่งที่ใช้การไม่ได้ ก็ฆ่ามันทิ้งไป
    เมื่อมีการขจัดผู้ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ขจัดผู้ที่อ่อนแอ และขจัดผู้ที่เยาว์วัยเป็นเหมือนขยะ  ถ้าเขาคิดจะทำกับผู้ที่เยาว์วัยได้ ขั้นต่อไปที่เขาคิดจะขจัดก็คือผู้ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ผู้อ่อนแอที่สูงอายุ ขั้นต่อไปที่เขาคิดจะขจัดคือผู้ที่เจ็บป่วย "ไม่เป็นประโยชน์" ต่อสังคมต่อไป ผู้ที่ไม่สวยไม่แข็งแรงหรือ?  หรือจะเป็นพวกที่พิการ  ตาบอด หรือเป็นใบ้?  หรือเป็นพวกที่มีไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน?  หรือเป็นพวกที่สีผิวต่างกับเรา? คนบางกลุ่มพยายามเรียกร้องให้มีการ "กำจัด" ผู้ไม่พึงปรารถนา โดยให้ออกเป็นกฎหมายใช้ในการดับชีวิตของคนที่เรียกว่า "euthanasia" (ฆ่าให้ตายด้วยเมตตา)  หรือ "mercy killing" (ฆ่าคนให้ตายด้วยความปรานี) ในเมื่อเราระเบิดสมองม้าที่ไม่มีประโยชน์ไม่แปลกอะไรที่จะฆ่าคนที่ไม่มีประโยชน์ได้ใช่ไหม?

ศีลธรรม จรรยาบรรณ และการที่พระเจ้าทรงพระชนม์
MORALITY, ETHICS AND THE EXISTENCE OF GOD

    ผู้ไม่เชื่อพระเจ้าคนล่าสุดแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ชื่อว่า จอร์จ เกย์ลอร์ด ซิมป์ซัน (George Gaylord Simpson)  ครั้งหนึ่งเขาได้เขียนว่า "ศีลธรรมเกิดขึ้นจากภายในมนุษย์เท่านั้น"  ที่เขากล่าวเช่นนั้นยืนยันว่า (เขาจะหมายถึงตามสิ่งที่เขาพูดหรือไม่) ศีลธรรมมีความเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะสำหรับมนุษย์เท่านั้น  ไม่มีมนุษย์วานรสองตัวนั่งคุยกันว่า "ข้ามีความคิดดี วันนี้ให้เราพูดเรื่องศีลธรรมและจรรยาบรรณกันเถอะ" บ่อยครั้งเด็ก ๆ ถูกสอนว่าพวกเขาฉลาดมากกว่า "พวกเปลือยมนุษย์วานร" และเด็ก ๆ มีสติปัญญามากพอที่จะคิดได้ว่ามันหมายความว่าอะไร?
    เด็กที่ถูกสอนผิดคิดว่าคนวิวัฒนาการมาจากสัตว์  ถ้าเด็กเชื่ออย่างนั้นเด็กก็จะมีพฤติกรรมเหมือนกับสัตว์ตามที่เขาเชื่อ เขาจึงใช้ปืนกลยิงกราดใส่เพื่อน ๆ (บางคนมีอายุ 10 หรือ 11 ขวบ) เพราะเรื่องผิดใจกับเพื่อน ๆ หรือแค่มองหน้าไม่พอใจเท่านั้น เป็นเรื่องทำให้เขาเหนี่ยวไกปืนยิงใส่เพื่อนนักเรียนและครูนอนตายจมกองเลือดต่อหน้าต่อตาตนเองอย่างไม่สะทกสะท้าน ภายหลังเหตุการณ์พ่อแม่เด็ก ผู้บริหารโรงเรียน ญาติและมิตรสหายได้มาชุมนุมกันที่กองเลือดนั้นต่างพากันประหลาดใจว่า "นี่มันเกิดอะไรขึ้น?" เราจะประหลาดใจหรือตกใจกับพฤติกรรมอย่างนี้ทำไม?  เพราะตามความคิดของคนไม่เชื่อพระเจ้าบอกว่า นั่นมันเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ คนแข็งแรงเท่านั้นที่จะอยู่รอดในสังคมได้  คนอ่อนแอก็ต้องตายไป  เพราะเด็ก ๆ ถูกสอนว่าศาสนาเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นความอ่อนแอภายในของคน  นี่เป็นข้อแก้ตัวชนิดหลังชนฝาของพวกไม่มีศาสนาพวกนี้เป็นพวกขี้ขลาดตาขาว "ฆ่าตัวเองตายด้วยอาวุธของตัวเอง"  เมื่อมีเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นเราจะแปลกใจไปทำไม?  เพราะด้วยกฎของธรรมชาติ "ก็จะมีการฆ่าหรือถูกฆ่า" อยู่แล้วมิใช่หรือ  ความจริงก็คือว่าคำอธิบายที่มีเหตุผลก็คือว่า ศีลธรรมและจรรยาบรรณมีจุดกำเนิดมาจากพระเจ้า พระเจ้าผู้ทรงสร้างจักรวาลผู้เดียวเท่านั้นที่จัดระบบศีลธรรมและจรรยาบรรณในสังคมมนุษย์ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้?
    ศีลธรรมที่แท้จริงนั้นตั้งอยู่บนความจริงที่ว่า พระลักษณะของพระเจ้าทรงฤทธานุภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงสภาพนิรันดร (1ติโมเธียว 1:17) ยุติธรรมและชอบธรรม (บทเพลงสรรเสริญ 89:14) และเสมอต้นเสมอปลาย (มาลาคี 3:6) ผู้ที่มีความดีขั้นสูงสุดก็คือพระเจ้า (มาระโก 10:18) และเพราะพระองค์บริสุทธิ์และสมบูรณ์ที่สุด (มัดธาย 5:48) ดังนั้นศีลธรรมและจรรยาบรรณมาจากพระเจ้าผู้ซึ่งประกอบด้วยความดีขั้นสูงสุด ไม่เปลี่ยนแปลง ทรงยุติธรรมและชอบธรรม เสมอต้นเสมอปลายซึ่งตรงกันข้ามกับปรัชญาที่ว่าด้วย ลัทธิสัมพันธ์  ลัทธิตัดสินด้วยตัวเอง หรือลัทธิจรรยาบรรณที่ขึ้นอยู่กับสภาวะ ฯลฯ ซึ่งเป็นปรัชญาของโลก เมื่อคนบอกว่ามนุษย์จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง เขาพูดอย่างนั้นก็เพราะเขาตระหนักดีว่าภายในตัวมนุษย์ชายหญิงและเด็กมีความสำนึกต่อความรับผิดชอบซึ่งมาจากความจริงว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง (บทเพลงสรรเสริญ 1:3) และเราได้ถูกสร้างให้เป็นไปตามพระฉายาทางฝ่ายวิญญาณของพระองค์ (เยเนซิศ 1:26-27) เหมือนช่างปั้นหม้อที่มีอำนาจเหนือดินเหนียวที่เขาปั้น (โรม 9:21) ฉันใดพระเจ้าผู้ทรงสร้างมีอำนาจและมีสิทธิในการครอบครองเหนือสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง "ด้วยความเป็นอยู่ของทุกสิ่งที่มีชีวิตและลมหายใจของมนุษย์ทั้งหลายก็อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์" (โยบ 12:10) เหมือนท่านโยบเรียนรู้ว่ามนุษย์ไม่ควรโต้เถียงกับพระเจ้า (โยบ 9:32)
    ไม่ว่าสิ่งใดที่พระเจ้าทำ หรือสั่ง หรือยอมรับสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งดีทั้งสิ้น (บทเพลงสรรเสริญ 119:39, 68)  อะไรที่พระองค์สั่งเพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า เพราะฉะนั้นทุกสิ่งที่พระองค์สั่งย่อมเป็นสิ่งที่ดี  ในพระคัมภีร์เดิมผู้พยากรณ์มีคาได้กล่าวถึงพระเจ้าว่า "พระองค์ได้ทรงแจ้งให้ทราบแล้วว่าอะไรน่ะดี พระยะโฮวาทางประสงค์อะไรจากท่านเล่านอกจากทำการยุติธรรมและรักความเมตตากรุณาและดำเนินชีวิตอย่างสุภาพเคียงคู่กันไปกับพระเจ้าของท่าน" (มีคา 6:8) ในพระคัมภีร์ใหม่อัครสาวกเปโตรได้เขียนว่า "พระองค์ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลายนั้นบริสุทธิ์ฉันใด ท่านทั้งหลายจงเป็นคนบริสุทธิ์ในบรรดาการประพฤติทุกอย่างฉันนั้นเพราะเราเป็นผู้บริสุทธิ์" (1เปโตร 1:15-16) ศีลธรรมและจรรยาบรรณตั้งอยู่บนพื้นฐานความห่วงใยของพระเจ้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงสร้างของเขา  พระเจ้าพระองค์เองเป็นมาตรฐานกฎศีลธรรมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  พระลักษณะความบริสุทธิ์ของพระองค์เป็นรากฐานที่ตั้งของความ "ถูก" และ "ผิด" "ความดี" และ "ความชั่ว" น้ำพระทัยของพระเจ้าเป็นมาตรฐานศีลธรรมอันสูงสุด ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติตาม ทำไมเราจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะว่าพระเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ (1เปโตร 1:16) ทำไมเราไม่ควรพูดมุสา (โกโลซาย 3:9) เพราะว่าพระเจ้าไม่มุสา (เฮ็บราย 6:18) เพราะพระลักษณะของพระเจ้าไม่เปลี่ยนแปลงเหตุผลที่ตามมาก็คือว่ากฎศีลธรรมซึ่งสะท้อนความเป็นพระเจ้าของพระองค์ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
    บางครั้งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์ "ต่างคนทำตามในสิ่งที่ตัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกในสายตาของตนเอง" (ผู้วินิจฉัย 17:6) นั่นไม่ใช่เป็นแผนการของพระเจ้า  พระองค์ไม่ปล่อยให้มนุษย์เป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเองว่าอะไรถูกอะไรผิดเพราะพระองค์รู้ว่าความบาปจะทำให้ "จิตใจของมนุษย์ชั่วร้ายกาจนัก" (ยิระมะยา 17:9) เพราะฉะนั้นพระเจ้า "ได้ตรัส" (เฮ็บราย 1:1) โดยการที่พระองค์ทรงตรัสก็เท่ากับว่าพระองค์ได้เปิดเผยให้มนุษย์รู้จักกฎบัญญัติของพระองค์โดยทางพระคัมภีร์ (2ติโมเธียว 3:16-17)  ดังนั้นพระเจ้าคาดหวังว่ามนุษย์ต้องประพฤติตนให้ถูกตามกฎศีลธรรมของพระเจ้าด้วยความรับผิดชอบ (มัดธาย 19:9, กิจการ 17:3) โดยการปฏิบัติตามกฎศีลธรรมและบัญญัติของพระคริสตธรรมคัมภีร์ในที่สุดเราทุกคนจะต้องไปปรากฏต่อหน้า "บัลลังก์การพิพากษาของพระเจ้าผู้ชอบธรรมพระองค์จะประทานบำเหน็จตามการประพฤติของตน" (โรม 2:5-6) เพราะฉะนั้นจะเป็นการดีมากที่เราควรใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างยุติธรรมและอย่างชอบธรรมในปัจจุบันนี้" (ติโต 2:12)  เพราะความจริงที่ทุกคนจะต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ มนุษย์ทุกคนจะต้องตาย ท่านจะเผชิญกับความตายโดยใช้ชีวิตไม่ชอบธรรมไม่มีศีลธรรมจรรยาบรรณหรือท่านจะก้าวไปสู่ความตาย โดยรู้ว่าท่านได้ปฏิบัติตามกฎศีลธรรมจรรยาบรรณที่แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง  เพราะกฎศีลธรรมและจรรยาบรรณมีจุดกำเนิดจากพระเจ้าพระผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่

ตอบคำถาม คลิกที่นี่  https://docs.google.com/forms/d/1KERdIv01qDPIgc4o3t_gHw3Sp8jDKvkT1wMdSTAjJbA/viewform